จุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้เปลี่ยนจากระบบปฏิบัติการอื่นๆ
มาใช้งานลีนุกซ์คือ
· ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่แจกฟรี
คุณสามารถไปขอก็อปปี้จากใครก็ได้ที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจะดาว์นโหลดมาจากศูนย์บริการ
FTP ต่างๆ
บนอินเตอร์เน็ตหรือคุณอาจจะหาซื้อซีดีรอมลีนุกซ์ได้ในราคาที่ไม่แพงนักตามร้านหนังสือหรือร้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป
· ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ที่สามารถรันได้บนเครื่องพีซีทั่วไปที่มีราคาไม่แพงนักโดยสามารถรันได้บนเครื่องที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่
80386 ขึ้นไป พร้อมกับสนับสนุนอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น
การ์ดควบคุมการแสดงผล ซีดีรอม ฮาร์ดดิสค์ เครื่องพิมพ์ และอีเธอร์เน็ตการ์ด
เป็นต้น สามารถทำงานได้บนระบบบัสทั้งแบบ EISA, ISA,VESA Localbus หรือ PCI นอกจากนี้ในปัจจุบันได้เริ่มมีการพอร์ตเคอร์เนลไปรันบนเครื่องที่ใช้หน่วยประมวลผล
กลางอื่นๆ เช่น Motorola 680x0, DEC Alpha, PowerPC และ SPARC
เป็นต้น
· ประสิทธิภาพ คุณอาจจะแปลกใจที่เห็นระบบสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ถึงแม้ว่าจะมีหลายโปรเซสทำงานอยู่ในขณะนั้น
ลีนุกซ์ถูกออกแบบให้ใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกอย่างของเครื่องอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ตรงกันข้ามกับ DOS ที่แทบจะไม่ได้ใช้งานความสามารถต่างๆ
ของหน่วยประมวลผลกลาง 80386 ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 8086 เช่น การจัดการหน่วยความจำเสมือน ( Virtual Memory ) การจัดการทำงานแบบมัลติทาสก์กิง ( Multitasking ) และ
ระบบป้องกันการรบกวนการทำงานระหว่างโปรเซสต่างๆ เป็นต้น
ถ้าคุณมีหน่วยประมวลผลกลางที่เร็วและเพิ่มหน่วยความจำให้มากพอ
คุณจะพบว่าลีนุกซ์ทำงานได้ดีพอๆ กับหรือดีกว่าเครื่อง UNIX Workstation ราคาแพงหลายๆ ตัวในท้องตลาดขณะนี้เลยทีเดียว
· คุณภาพ
ลีนุกซ์เป็นความร่วมมือระหว่างโปรแกรมเมอร์นับพันที่ติดต่อกันทางอินเตอร์เน็ต
ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากบนอินเตอร์เน็ตอีกเช่นกันที่พร้อมจะทดลองใช้งาน
รายงานความผิดพลาดและให้คำแนะนำหรือเสนอความสามารถใหม่ๆ ให้กับผู้พัฒนาตลอดเวลา
ถ้าคุณลองสมัคร mailing list หรือลองเข้าไปอ่านกลุ่มข่าว
( News Group ) ต่างๆ ของลีนุกซ์ดูคุณจะพบว่า แต่ละวันจะมี e-mail
ที่พูดคุยกันถึงเรื่องความสามารถและ จุดบกพร่องต่างๆ
ของตัวเคอร์เนลรุ่นล่าสุดมากกว่า 100 ฉบับต่อวันเลยทีเดียว
ด้วยวิธีนี้ ข้อบกพร่องต่างๆ
จะถูกค้นพบและถูกแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
กลุ่มผู้ใช้งานและพัฒนาลีนุกซ์มีทั้งที่เป็นนักศึกษา อาจารย์
นักวิจัยในมหาวิทยาลัย พนักงานบริษัท ( มีข่าวลือว่า
แม้แต่พนักงานของ IBM และ Microsoft ก็ยังมีลีนุกซ์ไว้ใช้งานเอง
) และโปรแกรมเมอร์ ฯลฯ
ดังนั้นคุณจึงมั่นใจได้ทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบ
· ความสามารถแบบ UNIX เนื่องจากลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายผู้ใช้และหลายงาน
( Multi-user, Multi-tasking ) อย่างแท้จริง มีระบบ X
Window สำหรับการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปแบบกราฟิกซึ่งสนับสนุนโปรแกรมจัดการ
Window ( Window Manager ) หลายตัว
นอกจากนี้ยังสนับสนุนระบบเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อีเธอร์เน็ต,
โทเก้นริง, SLIP, PPP หรือ UUCP เป็นต้น
· การใช้งานร่วมกับ DOS และ Windows คุณสามารถติดตั้งลีนุกซ์ลงบนพาร์ติชันหนึ่งของฮาร์ดดิสค์หรือในกรณีที่คุณไม่ต้องการแบ่งพาร์ติชันใหม่
คุณก็สามารถติดตั้งทับลงไปบนระบบไฟล์ของ DOS ( FAT ) ได้ด้วย
คุณสามารถอ่านและเขียนแผ่นดิสค์หรือฮาร์ดดิสค์ที่ถูกฟอร์แมตโดย DOS ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาโปรแกรมจำลองการทำงาน DOS (
Dos Emulator ) และ Windows ( Windows Emulator : WINE ) บนลีนุกซ์ ซึ่งจะทำให้คุณรันโปรแกรมของ DOS และ Windows
บางตัวได้ โดยที่โปรแกรมต้นแบบในขณะนี้สามารถรันโปรแกรมทั้งของ DOSและ Windows ได้ส่วนหนึ่ง
· ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ
ลีนุกซ์สนับสนุนระบบไฟล์ของระบบปฏิบัติการหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น DOS
( FAT ), Windows for Workgroup ( SMB ),
Windows 95 ( VFAT ), Windows NT ( NTFS ), NetWare ( NCP ), OS/2 ( HPFS ),
MINIX, NFS และ System V เป็นต้น
คุณจึงสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากระบบปฏิบัติการอื่นๆ มาใช้งานได้โดยง่าย
· ความต้องการทรัพยากรของระบบ
ระบบขั้นต่ำที่ลีนุกซ์สามารถทำงานได้คือเครื่องพีซีที่มีหน่วยประมวลผลกลาง 80386
/SX หน่วยความจำ 2 เมกะไบต์ ฟลอบปี้ดิสค์ขนาด 1.44
หรือ 1.2 เมกะไบต์ การ์ดแสดงผล
และจอภาพแบบโมโนโครม แต่แน่นอนครับว่าระบบขนาดนี้คงจะไม่สามารถทำงานอะไรได้มากนัก
ระบบที่พอจะใช้ทำงานได้คือควรจะมีหน่วยความจำ
ตั้งแต่ 4 เมกะไบต์ขึ้นไป ถ้าคุณไม่ต้องการระบบ X
Window หรือ 8 เมกะไบต์ขึ้นไปสำหรับระบบ X Window ถ้าคุณต้องการให้ระบบคุณเร็วขึ้น
ควรจะใช้หน่วยประมวลผลกลางที่เร็วกว่า
80386 /SX และต้องมีฮาร์ดดิสก์สำหรับเก็บโปรแกรมใช้งานต่างๆ
สำหรับขนาดของฮาร์ดดิสค์ที่เหมาะสมนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่จะนำไปใช้
เช่น
ถ้าต้องรองรับงานจากผู้ใช้หลายคนก็ต้องเผื่อเนื้อที่สำหรับผู้ใช้แต่ระคนไว้ด้วย
· มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือมากมายเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับระบบ
ในปัจจุบันนี้
อินเตอร์เน็ตถือเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดของลีนุกซ์
เนื่องจากลีนุกซ์เกิดและเติบโตขึ้นมาบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง มีกลุ่มข่าว (News
Group) และ mailing list มากมายเกี่ยวกับลีนุกซ์ที่พร้อมจะรับฟังปัญหาและช่วยเหลือคุณตลอดเวลา
· ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด
เกือบทุกโปรแกรมที่รันบนลีนุกซ์และแม้แต่ตัวเคอร์เนลเองจะถูกแจกจ่ายไปพร้อมกับซอร์สโค้ด
(ส่วนใหญ่เป็นภาษา C ) ดังนั้นหากคุณไม่พอใจหรือต้องการปรับปรุงความสามารถของระบบในส่วนต่างๆ
ก็สามารถทำได้เอง และนอกจากนี้เนื่องจากระบบจะถูกแจกจ่ายมาพร้อมกับซอร์สโค้ดจึงทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งเลือกใช้ลีนุกซ์เป็นระบบตัวอย่างประกอบการเรียนการสอนในวิชาที่เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
นักศึกษาสามารถเข้าใจส่วนต่างๆ
ของระบบปฏิบัติการรวมทั้งยังสามารถพัฒนาโปรแกรมระบบต่างๆ เช่น ดีไวซ์ไดรเวอร์
· ระบบจัดการไฟล์
หรือแอพพลิเคชันโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเองได้โดยง่าย
ดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมพัฒนาลีนุกซ์
เป็นนักศึกษาที่ยังคงเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น